Tag Archives: การท่องเที่ยว

แนวโน้มของการท่องเที่ยวในอนาคต

เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตเห็นได้ว่ารูปแบบของการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก จนปัจจุบันมีรูปแบบการท่องเที่ยวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และในอนาคต การท่องเที่ยวยังคงมีการพัฒนาต่อไปซึ่งสามารถแบ่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออกเป็น 8 ประเด็น ดังนี้

1. การเดินทางท่องเที่ยวแบบคุณภาพ : ประชากรของโลกยังมีความต้องการการเดินทางท่องเที่ยวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เจตคติของประชากรโลกในการเดินทางท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป การเดินทางท่องเที่ยวในอนาคตไม่ใช่เป็นการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแต่เป็นการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

2. การกระตุ้นประชาชนให้เดินทางท่องเที่ยว : การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศอาทิ การลดชั่วโมงการทำงานอย่างในใต้หวันและเกาหลีการสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสพัฒนาประสบการณ์ของตนจากการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ประเทศญี่ปุ่น การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิดและภาษีนายจ้างในกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งเป็นการกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมากขึ้น

3. นักท่องเที่ยวสามารถจัดการเดินทางด้วยตนเอง : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านการบินที่มีประสิทธิภาพสูง และช่วยย่นระยะทางในการเดินทางซึ่งเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการจัดการเดินทางด้วยตนเองอันเป็นรูปแบบการเดินทางที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

4. เกิดการแข่งขันระดับโลกและการเดินทางข้ามภูมิภาคจะมีมากขึ้น : แต่ละประเทศยิ่งมีโอกาสในการรับนักท่องเที่ยวข้ามภูมิภาคในขณะเดียวกันการสูญเสียตลาดนักท่องเที่ยวภายในภูมิภาคจะมีมากเช่นกันระดับการแข่งขันของแต่ละแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นการแข่งขันระดับโลกมากกว่าระดับภูมิภาคอย่างที่ผ่านมา

5. การแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทวีความรุนแรง : อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีสินค้าที่ทุกประเทศมุ่งให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนดังนั้นระดับการแข่งขันในด้านตลาดการท่องเที่ยวจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในทศวรรษต่อไปและมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่เข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

6. กระแสต่อต้านแหล่งท่องเที่ยวในประเทศที่พัฒนาแล้ว : กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกมีบทบาทตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 20และแผ่ขยายอย่างต่อเนื่องไปยังกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีผลให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจต่อการศึกษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการป้องกันทางตรงเพื่อป้องกันการเดินทางท่องเที่ยวเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ พยายามที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการท่องเที่ยวมากขึ้นจึงมีการป้องกันการเดินทางในลักษณะทางอ้อมเข้ามาแทนที่ เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กและสตรีในบางแหล่งท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านแหล่งท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

7. ความนิยมในการท่องเที่ยวแบบพักผ่อนผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิต : การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงสุดแต่วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การท่องเที่ยวในลักษณะการพักผ่อนผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิตเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

องค์การท่องเที่ยวโลกคาดสถานการณ์ทิศทางการเติบโตของการท่องเที่ยวโลกในระยะยาวตั้งแต่ปีี พ.ศ.2545 – 2563 ว่าจะมีการเติบโตของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.1 ต่อปีโดยในปี 2553จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกจำนวน 1 พันล้านคน และปี 2563 จะมีจำนวน 1.6 พันล้านคน

สรุปได้ว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมื่อพิจารณาในระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องปลอดภัย สะอาด และพึงพอใจรูปแบบของการเดินทางมีแรงจูงใจเพื่อการพักผ่อน ศึกษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และมีปัจจัยเบี่ยงเบนการเดินทางท่องเที่ยวอันอาจก่อให้เกิดการต่อต้านการเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกระแสนิยมของโลก เช่น การรักษาสภาพแวดล้อมนอกจากนี้ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 21ซึ่งอาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นเกิดการจ้างงานความปลอดภัย เป็นต้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถจัดการเดินทางด้วยตนเองมีการแข่งขันในระดับโลกและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความนิยมในการท่องเที่ยวแบบผสมผสานกัน

การพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมากด้วยสภาพแวดล้อม สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและหลากหลาย มีทั้งแบบเชิงธรรมชาติอย่างทะเล ภูเขา น้ำตก เชิงศิลปวัฒนธรรมที่มีทั้งวัดวาอาราม พระราชวัง โบราณสถานต่าง ๆ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบสนองวิถีชีวิต คนเมือง อย่างบรรดาแหล่งช็อปปิ้ง สถานบันเทิง สปา เป็นต้น

ประกอบกับการบริการที่เป็นมิตร เอกลักษณ์ของคนไทยที่มีความอ่อนโยนทำให้ชาวต่างชาติประทับใจ โรงแรม รีสอร์ตไทยหลาย ๆ แห่งก็มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งค่าครองชีพที่หากเทียบกับประเทศอื่นแล้วถือว่าไม่สูงมากนัก และยังมีระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภคที่ค่อนข้างมีความพร้อม หากเทียบกับประเทศใกล้เคียง จึงทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ของประเทศเลยทีเดียว

องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) ได้คาดการณ์ว่า ในอีก 8 ปีข้างหน้า ค.ศ. 2020 จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวแถบเอเชียแปซิฟิกถึง 400 ล้านคน ในจำนวนนั้นส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวในอาเซียนประมาณ 160-200 ล้านคน

แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวในแถบอาเซียนยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกมาก ประเทศสมาชิกอาเซียนหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศแถบอาเซียนมากขึ้น และยังเป็นการรองรับการก้าวเข้าไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้อีกด้วย ซึ่งการก้าวเข้าไปสู่การเป็น AEC อย่างเต็มรูปแบบนี้จะมีการเปิดเสรีในหลายด้านรวมไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวด้วย

การเปิดเสรีดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดในภาวะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันสูงต่อไป

การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน

การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นยุคของเศรษฐกิจเป็นย่างมาก โดยที่ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องใช้การประสมประสานทางด้านการพัฒนาสินค้า บริการ ทรัพยากร และวิธีการสื่อสารกับลูกค้ารวมถึงแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างความแตกต่างและประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นในการบริโภคสินค้า

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว จำเป็นจะต้องสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวร่วมกับการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวในรูปแบบของการสื่อความหมายและการนำเสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ควรจะให้ความสำคัญดังนี้

การสร้างวิสัยทัศน์ เพราะปัจจุบันในประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่ซึ่งจะขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน ดังนั้นการวิสัยทัศน์เป็นการสร้างภาพในอนาคตขององค์กรไว้ให้มีความชัดเจน และสามารถสื่อสารให้คนในองค์กรสามารถรับรู้ได้ว่าในอนาคตบริษัทกำลังมุ่งหน้าไปสู่บริษัทแบบไหนและสร้างความชัดเจนในการกำหนดกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจควบคู่ไปด้วย

การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเพราะธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเป็นสินค้าที่ขายดีและมีชื่อเสียง แม้อาจจะมีอุปสรรคในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบ้างแต่ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวสามารถฟื้นคืนกลับมาได้หากมีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วน

การพัฒนาทางการท่องเที่ยวควบคู่กับการจัดโปรโมชั่นทางด้านการท่องเที่ยว เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพราะทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยเฉพาะทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่อาจถูกทำลายได้โดยง่ายจึงจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเน้นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก หรือแม้แต่การควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ

สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ เนื่องจากไม่ใช่แค่การร่วมกันเป็นสมาคมหรือองค์กรขึ้นมาเพื่อเพียงแค่หาช่องทางในการสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเท่านั้น แต่เป็นการใช้โอกาสเพื่อร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เข้มแข็ง ที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันคือ การมองว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเราเป็นผู้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมของเราให้มีมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น เพราะหากมีการร่วมมือตั้งใจพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจท่องเที่ยวอย่างจริงจังก็จะสามารถสร้างภาพรวมของธุรกิจให้ดีขึ้นรวมถึงทำให้มีการร่วมที่สามารถยกระดับมาตรฐานของธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในเติบโตต่อไปอนาคตอย่างยั่งยืนได้