Category Archives: การท่องเที่ยว

สิ่งที่คาดหวังจากวันหยุดพักผ่อนในทัวร์ญี่ปุ่น

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะท่องเที่ยวญี่ปุ่นคุณจะคิดถึงสถานที่ที่จะอยู่ ทัวร์ญี่ปุ่นมีราคาแพงมากดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้าพักในที่ตั้งแคมป์หรือโรงแรมแฟนซี หากคุณกำลังจะเดินทางทัวร์ญี่ปุ่นและวางแผนที่จะอยู่เป็นเวลาหลายเดือนคุณสามารถเลือกพักที่อพาร์ตเมนต์ที่สามารถเดินทางไปยังเมืองหรือเมืองหลวงได้ ด้วยวิธีนี้คุณจะไม่ต้องกังวลกับการสูญหายเมื่อเดินทางไปญี่ปุ่น

ทัวร์ญี่ปุ่นสำหรับนักเดินทางรายใดที่มีประสบการณ์

ทัวร์ญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ในเกียวโตและนาราวัดวาอารามและศาลเจ้ามีมากมาย สถานที่นี้มีเสน่ห์แบบดั้งเดิมและมีบรรยากาศแบบนี้ แต่ถ้าคุณต้องการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพื่อการอุทธรณ์ที่ทันสมัยโตเกียวและโอซาก้าก็เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ คุณจะมั่นใจได้ว่าจะได้เที่ยวชมสถานที่อันน่ารื่นรมย์ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ดีที่สุดในการท่องเที่ยวญี่ปุ่น? คนส่วนใหญ่ไปที่นั่นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเนื่องจากในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมฝนตกหนักและอุณหภูมิค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นนักเล่นสกีแล้วเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงฤดูหนาว ทัวร์ญี่ปุ่นสนามบินนาริตะโตเกียวเป็นศูนย์กลางสำหรับนักเดินทางที่เพิ่งเดินทางมายังญี่ปุ่น

การเดินรอบสถานที่ต้องใช้แผนที่หากคุณไม่คุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ ทัวร์ญี่ปุ่นและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้โปรดระวังรถไฟหัวกระสุนเมื่อตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายการก่ออาชญากรรมและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นทำให้เป็นเรื่องยากที่จะเลือกสถานที่ที่ปลอดภัยในการพักผ่อน แม้ว่าจะไม่มีสถานที่ ทัวร์ญี่ปุ่นที่แท้จริงบนโลกเพราะความผิดทางอาญาและปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ทุกแห่งมีหลายสถานที่ที่จะเดินทางไปได้ค่อนข้างปลอดภัย นี่คือการเลือกสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดในการเดินทางสำหรับครอบครัวสำหรับคู่รักสำหรับเพียงเกี่ยวกับทุกคน

ด้วยอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำที่สุดในโลก

ทัวร์ญี่ปุ่นราคาถูกอยู่ในหรือใกล้กับจุดสูงสุดของรายการสถานที่ปลอดภัยที่จะเดินทาง ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นประเทศที่สุภาพที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยว ญี่ปุ่นเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักสกีสโนว์บอร์ดนักชิมผู้ชื่นชอบอาหารทะเลและทุกคนที่สนใจในประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใครทัวร์ญี่ปุ่น ด้านล่างเป็นที่ตั้งของญี่ปุ่นบนโลกการเดินทางอาจมีราคาแพงและมีสกุลเงินที่แข็งแกร่งและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นสถานที่ที่มีราคาแพงมากขึ้นในการเยี่ยมชมในด้านอาหารโรงแรมและบริการ

การพัฒนาธุรกิจของตัวเองนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องคิดค้นวิธีใหม่ๆ เองเสมอไป

32

ในปัจจุบันมีแผนธุรกิจใหม่ๆ มากมาย จากผู้ที่เคยประสบความสำเร็จมาเผยแพร่และบอกเล่าให้เราฟัง ผ่านทางหนังสือ หรือบทสัมภาษณ์ต่างๆ ซึ่งเมื่อเราหยิบไปปรับใช้กับธุรกิจตัวเองก็พบว่าบ้างก็ใช้ได้ บ้างก็ใช้ไม่ได้ และหลายๆ ครั้งก็พบว่ารูปแบบธุรกิจ หรือแผนการตลาดใหม่ๆ นั้นมีมากมายเหลือเกิน จนไม่รู้จะทดลองใช้อันไหนดี เพราะการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะสามารถลองผิดลองลองถูกได้เสมอ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้วนั้นอาจหมายถึงจุดจบของธุรกิจเราได้เลย ดังนั้นจะดีกว่าใหม่ถ้าเราหันกลับมามองเรื่องพื้นฐาน 5 ประการที่เคยใช้ได้ผลกับทุกยุคทุกสมัย และนำมาปรับใช้กับอะไรใหม่ๆ ที่เราอยากให้เป็น หรือปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้นกันดีกว่า

การพัฒนาธุรกิจของตัวเองนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องคิดค้นวิธีใหม่ๆ เองเสมอไป หนทางที่ง่ายกว่าคือการลองมองดูธุรกิจรอบๆ ตัวเราดูบ้างว่ามีแผนพัฒนาธุรกิจอะไรที่น่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราเองได้บ้าง ซึ่งเราคงไม่ต้องมองไปไหนไกล เราสามารถเริ่มต้นได้จากดูคู่แข่งของเราเองก่อนว่าพวกเขามีอะไรที่ดีกว่าและนำหน้าเราอยู่ และยังมีอะไรที่ขาดหายไป หรือมีอะไรที่น่าจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อีก จากนั้นนำสิ่งที่เราเห็นมาวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อหาข้อดี ข้อเสีย และผลที่ตามมาเมื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจตัวเองว่ามีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน อย่างเช่น รูปแบบร้านของ Apple Store ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการหลายรายที่นำมาปรับใช้ เนื่องจากรูปแบบร้านที่เรียบง่าย เน้นให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและได้ทดลองเล่น ทดลองใช้ รวมไปถึงการบริการที่เอาใจใส่ ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เราก็สามารถนำจุดแข็งเหล่านี้มาปรับใช้ให้กับธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน

หัวข้อนี้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด แต่กลับมีคนเป็นจำนวนมากที่มักพลาดกันในเรื่องการใส่ใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพราะคนส่วนมากนั้นมักเลือกที่จะเดาใจลูกค้ากันเอาเอง คิดกันเอาเองว่าลูกค้ามีความต้องการแบบนั้นแบบนี้ ทั้งๆ ที่วิธีที่ง่ายและได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากกว่าการคาดเดาก็แค่การถามลูกค้าตรงๆ หรือพยายามรับฟังลูกค้าให้มากขึ้นเพียงเท่านั้นเอง   ซึ่งวิธีการถามลูกค้านั้นก็สามารถทำได้โดยวิธีการทำแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลและนำมาประเมินเพื่อพัฒนาสินค้า และการบริการแต่ละด้านให้ตรงจุด และตรงใจของลูกค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนการรับฟังนั้นก็ทำได้ไม่ยากเช่นกันเพียงแค่เราใส่ใจในสิ่งที่ลูกค้าพูด หรือลูกค้าบ่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการบริการของเราไม่ว่าผ่านทางพนักงานขาย หรือบนโลกออนไลน์ก็ควรนำมาวิเคราะห์และแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

การจัดระบบการเดินทางท่องเที่ยวของชาวตะวันตกในปัจจุบัน

13

การจัดระบบการเดินทางท่องเที่ยวของชาวตะวันตกนั้นเกิดขึ้นประมาณสมัยอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ อันได้แก่ อาณาจักรเปอร์เซียอาณาจักรเอสซีเรีย กรีก อียิปต์ และโรมัน การเดินทางได้ถูกนำมาใช้โดยกองทหารหรือกองทัพพวกพ่อค้า และผู้แทนรัฐบาลต่างๆในอดีตเป็นเหตุผลสำคัญ รวมทั้งเพื่อการติดต่อคมนาคมระหว่างรัฐบาลกลางกับอาณานิคมต่างๆที่อยู่ห่างไกลออกไป นอกจากนี้การเดินทางยังมีความจำเป็นสำหรับพวกช่างศิลป์ และสถาปนิกที่ถูกเรียกมาใช้จากดินแดนห่างไกล เพื่อการออกแบบและก่อสร้างพระราชวังที่ยิ่งใหญ่งดงามหรือหลุมศพขนาดมหึมาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกันการเดินทางยังช่วยทำให้เกิดมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญๆเช่น ถนน ลำคลอง ผู้จดบันทึกระยะทาง คนเฝ้ายามสถานีไปรษณีย์ หลักบอกระยะทางบ่อน้ำหรือแอ่งน้ำดื่มพนักงาน ในสถานที่พักและร้านขายอาหารเป็นต้น ในยุคของอาณาจักรกรีกโบราณ มนุษย์เดินทางไปชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้สถานที่พักและบริการอาหารอย่างดี เป็นจำนวนมากไว้คอยบริการ ยุคนี้เริ่มมีการใช้เงินในการแลกเปลี่ยนสินค้าบ้างแล้ว ทำให้สะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

ชาวโรมันยังได้นำเอาระบบกฎหมายออกเผยแพร่ไปยังอาณาจักรอื่นๆ  ที่เป็นอาณานิคมของโรมันด้วย  ชาวโรมันยังเป็นนักสร้างถนนที่ยิ่งใหญ่ ผลงานที่มีชื่อเสียงว่าเป็นถนนที่ก่อสร้างได้ดีที่สุดก็คือ Appian Way ซึ่งเป็นถนนหลวงสายหลักที่เชื่อมต่อไปยังประเทศกรีกและดินแดนภาคตะวันออก ชาวโรมันสามารถเดินทางเป็นระยะทางยาวถึง  73 ไมล์ จากกำแพงเฮเดรียน ในอังกฤษไปจนถึงลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส โดยปราศจากการข้ามเขตแนวพรมแดนของประเทศอื่นใด  เส้นทางการติดต่อสื่อสารนับได้ว่ายอดเยี่ยมและสถานที่พักนักเดินทางระหว่างการเดินทาง ก็ได้สร้างไว้ระยะๆตลอดเส้นทางการเดินทางจึงกล่าวได้ว่าชาวโรมันเป็นนักสร้างสรรค์โครงสร้างพื้น ฐานการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดของโลกชาติหนึ่ง ( ทั้งระบบการติดต่อขนส่งและการสื่อสาร )ถึงแม้จะเป็นความจริงว่าชาวโรมันมิใช่เป็นชาติแรกที่ได้เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรกทั้งโดยตัวอักษรและจิตใจที่แท้จริงในศตวรรษที่ 2 แห่งคริสต์กาล

เพิ่มศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ รับ AEC

กรมการท่องเที่ยว เดินหน้าเพิ่มศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ รับ AEC แนะกลยุทธ์การตลาด เจาะลึกพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียน ปรับสินค้า-บริการ และกิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน ไม่ว่าเป็นเรื่องของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน การวางกลยุทธ์การตลาด การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียน การเพิ่มทักษะด้านภาษา ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคแถบนี้

นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นกลุ่มที่ไม่อาจมองข้ามเพราะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและผู้คนมีกำลังซื้อ ขณะเดียวกันการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นถือเป็นเสน่ห์ของการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ดังนั้นโครงการนี้จึงตอบโจทย์ของกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้อย่างตรงจุด เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน มาใช้เป็นทุนในการดำเนินการด้านท่องเที่ยวแล้ว ยังมุ่งเน้นให้ชุมชนท่องเที่ยวได้ศึกษาตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศ CLMV อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ซึ่งกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศมุสลิม ที่มีวิถีปฏิบัติและวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป อย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน หรือประเทศที่มั่งคั่งทางการค้าอย่าง สิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางกลยุทธ์การตลาด การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน และการสื่อสารที่เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น อันจะนำมาซึ่งความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่น่าจับตามอง

ชุมชนต่างๆ สามารถนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไปปรับใช้กับชุมชนท่องเที่ยวของตนเอง ซึ่งเชื่อมั่นได้ว่านอกจากจะเป็นการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนให้สอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระยะเวลาอันใกล้นี้แล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอีกด้วย

แนวโน้มของการท่องเที่ยวในอนาคต

เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตเห็นได้ว่ารูปแบบของการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก จนปัจจุบันมีรูปแบบการท่องเที่ยวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และในอนาคต การท่องเที่ยวยังคงมีการพัฒนาต่อไปซึ่งสามารถแบ่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออกเป็น 8 ประเด็น ดังนี้

1. การเดินทางท่องเที่ยวแบบคุณภาพ : ประชากรของโลกยังมีความต้องการการเดินทางท่องเที่ยวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เจตคติของประชากรโลกในการเดินทางท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป การเดินทางท่องเที่ยวในอนาคตไม่ใช่เป็นการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแต่เป็นการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

2. การกระตุ้นประชาชนให้เดินทางท่องเที่ยว : การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศอาทิ การลดชั่วโมงการทำงานอย่างในใต้หวันและเกาหลีการสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสพัฒนาประสบการณ์ของตนจากการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ประเทศญี่ปุ่น การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิดและภาษีนายจ้างในกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งเป็นการกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมากขึ้น

3. นักท่องเที่ยวสามารถจัดการเดินทางด้วยตนเอง : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านการบินที่มีประสิทธิภาพสูง และช่วยย่นระยะทางในการเดินทางซึ่งเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการจัดการเดินทางด้วยตนเองอันเป็นรูปแบบการเดินทางที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

4. เกิดการแข่งขันระดับโลกและการเดินทางข้ามภูมิภาคจะมีมากขึ้น : แต่ละประเทศยิ่งมีโอกาสในการรับนักท่องเที่ยวข้ามภูมิภาคในขณะเดียวกันการสูญเสียตลาดนักท่องเที่ยวภายในภูมิภาคจะมีมากเช่นกันระดับการแข่งขันของแต่ละแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นการแข่งขันระดับโลกมากกว่าระดับภูมิภาคอย่างที่ผ่านมา

5. การแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทวีความรุนแรง : อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีสินค้าที่ทุกประเทศมุ่งให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนดังนั้นระดับการแข่งขันในด้านตลาดการท่องเที่ยวจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในทศวรรษต่อไปและมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่เข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

6. กระแสต่อต้านแหล่งท่องเที่ยวในประเทศที่พัฒนาแล้ว : กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกมีบทบาทตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 20และแผ่ขยายอย่างต่อเนื่องไปยังกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีผลให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจต่อการศึกษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการป้องกันทางตรงเพื่อป้องกันการเดินทางท่องเที่ยวเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ พยายามที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการท่องเที่ยวมากขึ้นจึงมีการป้องกันการเดินทางในลักษณะทางอ้อมเข้ามาแทนที่ เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กและสตรีในบางแหล่งท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านแหล่งท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

7. ความนิยมในการท่องเที่ยวแบบพักผ่อนผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิต : การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงสุดแต่วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การท่องเที่ยวในลักษณะการพักผ่อนผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิตเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

องค์การท่องเที่ยวโลกคาดสถานการณ์ทิศทางการเติบโตของการท่องเที่ยวโลกในระยะยาวตั้งแต่ปีี พ.ศ.2545 – 2563 ว่าจะมีการเติบโตของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.1 ต่อปีโดยในปี 2553จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกจำนวน 1 พันล้านคน และปี 2563 จะมีจำนวน 1.6 พันล้านคน

สรุปได้ว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมื่อพิจารณาในระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องปลอดภัย สะอาด และพึงพอใจรูปแบบของการเดินทางมีแรงจูงใจเพื่อการพักผ่อน ศึกษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และมีปัจจัยเบี่ยงเบนการเดินทางท่องเที่ยวอันอาจก่อให้เกิดการต่อต้านการเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกระแสนิยมของโลก เช่น การรักษาสภาพแวดล้อมนอกจากนี้ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 21ซึ่งอาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นเกิดการจ้างงานความปลอดภัย เป็นต้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถจัดการเดินทางด้วยตนเองมีการแข่งขันในระดับโลกและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความนิยมในการท่องเที่ยวแบบผสมผสานกัน

การท่องเที่ยวเป็นสาขาบริการที่ไทยสามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้สูงที่สุดในอาเซียน

ธุรกิจไทยต้องก้าวออกไปนอกประเทศมากขึ้น โดยใช้ตลาดอาเซียนเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งซึ่งยังเป็นระดับที่ไทยค่อนข้างได้เปรียบ ก่อนการรวมตลาดจะก้าวไปสู่ระดับที่ใหญ่ขึ้นเช่น ASEAN+3 ซึ่งจะต้องเจอการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากธุรกิจในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เราควรจะเริ่มต้นการ “ใช้แก่นความสามารถหรือใช้สิ่งที่เราเก่งอย่างเต็มรูปแบบ” พร้อมทั้งหาช่องทางจากกระแสที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็น AEC และลักษณะของตลาดในอาเซียน AEC จะยิ่งเป็นโอกาสที่มากขึ้นสำหรับธุรกิจที่ไทยมีความได้เปรียบและเป็นจุดแข็งของไทยอยู่แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์และธุรกิจด้านการผลิตอาหาร

การท่องเที่ยวเป็นสาขาบริการที่ไทยสามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้สูงที่สุดในอาเซียน  โดยในปีปกติของการท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากนัก ไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 18000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่ามาเลเซียซึ่งมีรายได้สูงเป็นอันดับสองประมาณ 20% และยังมีข้อได้เปรียบจากที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มที่จะตักตวงโอกาสจากการเติบโตของกระแสการท่องเที่ยวเอเชียที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตได้มากทั้งนี้ the World  Tourism Organization คาดการณ์ไว้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวทวีปเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% จากประมาณ 20% ในปัจจุบัน สวนทางกับสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวยุโรปที่จะลดลงเหลือ 46% หรือจากประมาณ 52% ในปัจจุบัน

การกลายเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนสามารถต่อยอดให้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยมีช่องทางหารายได้เพิ่มเติม เช่น การขยายแพคเกจทัวร์เป็นแพคเกจท่องเที่ยวอาเซียน แทนการจัดแพคเกจเพียงในประเทศไทยโดยอาศัยการสร้างเครือข่ายบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน หรือแม้แต่ลงทุนตั้งสาขาหรือสำนักงานย่อยในต่างประเทศ โดยไทยจะมีข้อได้เปรียบจากการมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักจำนวนมากที่สุดในอาเซียนและสามารถใช้ชื่อเสียงดังกล่าวดึงดูดนักท่องเที่ยวก่อนต่อยอดขยายแพคเกจเดินทางไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนต่อได้

ธุรกิจด้านการผลิตอาหารแปรรูป และธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนมีแนวโน้มได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก จากความได้เปรียบทางด้านการผลิตและการค้าที่ไทยมีสัดส่วนส่งออกสูงที่สุดในอาเซียนโดยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกถึง 77% และ 61% ตามลำดับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน ที่มีความได้เปรียบจากการเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่คือความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน ความร็ความสามารถของแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ไทยได้รับประโยชน์จากตลาดที่ใหญ่ขึ้นและการแข่งขันที่อาจจะสูงขึ้น โดยเฉพาะการต่อยอการลงทุนสำหรับกระแสความนิยมรถยนต์ประเภทต่างๆ ในอนาคต ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือ กระแสความนิยมรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ ที่มีแผนการลงทุนในไทยแล้วประมาณ 34,000 ล้านบาท ในขณะที่อินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์โดยรวมมากเป็นอันดับสองรองจากไทยในอาเซียนอยู่ในขั้นกำลังใช้แผนส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน แต่ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการลงทุนและสเปกของรถประหยัดพลังงานออกมาอย่างชัดเจน

มาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับท่องเที่ยว

NjpUs24nCQKx5e1HUl8VGSZUavZszgXqAroACPJPnQ3
การท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีศักยภาพในการทำรายได้ให้กับประเทศไทยสูง ดังนั้นนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัย และการให้บริการระดับสากล โดยการเน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก รวมทั้งการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการ ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประเทศไทยจึงเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงาน กระจายรายได้ และหารายได้จากเงินตราต่างประเทศ พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย

มาตรการด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวสำหรับลูกค้าที่มาใช้บริการนับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าและของผู้จัดนำเที่ยวเองที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆได้เป็นอย่างดี หากจะเกิดความเสียหายบ้างจากเหตุสุดวิสัยต่างๆก็จะไม่เสียหายมากมายนักในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวให้ได้รับความน่าเชื่อถือ และป้องกันเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวควรจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยต่างๆ

การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวไมให้เสื่อมโทรม และรักษาคุณค่าด้านการท่องเที่ยว โดยมีแนวทางการศึกษาศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางท่องเที่ยวจำนวนมากๆ เพื่อให้ทราบจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด ที่แหล่งท่องเที่ยวสามารถรับได้ รวมทั้งการจัดทำมาตรการที่เหมาะสมในการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวสำคัญๆ เช่น ขยายพื้นที่จอดรถยนต์ เพิ่มจำนวนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น สถานที่พักแรม จำนวนห้องน้ำและห้องส้วม ร้านอาหาร ถังขยะ การจัดเก็บ เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณนักท่องเที่ยว การสร้างความเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยว โดยจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ในระดับท้องถิ่นระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ และนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดจากการท่องเที่ยว รวมทั้ง การก่อให้เกิดการขยายระยะเวลาการท่องเที่ยวให้ยาวนานยิ่งขึ้น และการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยสามารถเชื่อมโยงในระดับต่างๆ

พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ

พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกลุ่มพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับศักยภาพเชิงวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างถูกวิธี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี การท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการกีฬา สวนสุขภาพ และสวนสนุก

ปรับปรุงคุณภาพด้านการบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ โดยให้ความสำคัญต่อการเพิ่มและกวดขันมาตรฐานด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาการหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการเข้าออกประเทศ การเดินทางในประเทศ การให้บริการข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวแต่ละประเภท

ส่งเสริมบทบาทชุมชนและองค์กรชุมชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การบำรุงรักษา และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว โดยรณรงค์สร้างจิตสำนึกและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการในท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจการท่องเที่ยว

ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่มีระยะพักนาน และนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มการประชุม การจัดนิทรรศการนานาชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล เพื่อเพิ่มสัดส่วนของรายได้ต่อนักท่องเที่ยวและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยให้มีระบบบริหารจัดการเฉพาะขึ้นมารับผิดชอบ รวมทั้งให้มีศูนย์ประชุม และศูนย์แสดงสินค้านานาชาติในเมืองหลักที่มีศักยภาพขึ้นมารองรับ

ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น และเร่งรัดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาให้เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักในพื้นที่ เพื่อการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่น

การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก

1

การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบทและการจ้างงานในท้องถิ่น ภาครัฐ จึงได้กำหนด  ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชน โดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างเป็นอิสระ โดยภาครัฐจะสนับสนุนด้านความรู้ ประสบการณ์และงบประมาณอุดหนุนผ่านกลไกของรัฐในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันสำนักพัฒนาการท่องเที่ยวกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ตั้ง คณะกรรมการประสานงานเชิงบูรณาการระหว่างกระทรวงเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคาดหวังว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพราะเป็นการท่องเที่ยว แบบสร้างส่วนร่วมให้แก่ชุมชน สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจชุมชนของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย ในด้านการตลาด การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ยังเป็นกลุ่มเฉพาะ

การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบทและการจ้างงานในท้องถิ่น ภาครัฐ จึงได้กำหนด ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชน โดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนงานและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างเป็นอิสระ โดยภาครัฐจะสนับสนุนด้านความรู้ ประสบการณ์และงบประมาณอุดหนุนผ่านกลไกของรัฐในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบัน สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ตั้ง คณะกรรมการประสานงานเชิงบูรณาการระหว่างกระทรวงเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและคาดหวังว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เพราะเป็นการท่องเที่ยว แบบสร้างส่วนร่วมให้แก่ชุมชนสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจชุมชนของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย ในด้านการตลาด การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ยังเป็นกลุ่มเฉพาะ จะพบว่านักท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม คือ ผู้ที่เดินทางไปเที่ยวโดยซื้อรายการนำเที่ยวจากบริษัททัวร์มักต้องการเดินทางไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล เพราะผู้เดินทางมักประสบปัญหาด้านการจองพาหนะการเดินทางและห้องพัก การซื้อรายการนำเที่ยวจากบริษัททัวร์จะสะดวกกว่าและได้ท่องเที่ยวในเวลาตามที่วางแผนไว้ สำหรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวทางเลือกใหม่  จะเลือก เดินทางไปท่องเทียวในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับเทศกาลวันหยุด นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ให้ความสนใจในเรื่องการผจญภัย ศึกษา วัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิต และประเพณีของไทยมากกว่านิยมจัดการเดินทางด้วยตนเอง

การพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมากด้วยสภาพแวดล้อม สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและหลากหลาย มีทั้งแบบเชิงธรรมชาติอย่างทะเล ภูเขา น้ำตก เชิงศิลปวัฒนธรรมที่มีทั้งวัดวาอาราม พระราชวัง โบราณสถานต่าง ๆ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบสนองวิถีชีวิต คนเมือง อย่างบรรดาแหล่งช็อปปิ้ง สถานบันเทิง สปา เป็นต้น

ประกอบกับการบริการที่เป็นมิตร เอกลักษณ์ของคนไทยที่มีความอ่อนโยนทำให้ชาวต่างชาติประทับใจ โรงแรม รีสอร์ตไทยหลาย ๆ แห่งก็มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งค่าครองชีพที่หากเทียบกับประเทศอื่นแล้วถือว่าไม่สูงมากนัก และยังมีระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภคที่ค่อนข้างมีความพร้อม หากเทียบกับประเทศใกล้เคียง จึงทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ของประเทศเลยทีเดียว

องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) ได้คาดการณ์ว่า ในอีก 8 ปีข้างหน้า ค.ศ. 2020 จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวแถบเอเชียแปซิฟิกถึง 400 ล้านคน ในจำนวนนั้นส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวในอาเซียนประมาณ 160-200 ล้านคน

แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวในแถบอาเซียนยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกมาก ประเทศสมาชิกอาเซียนหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศแถบอาเซียนมากขึ้น และยังเป็นการรองรับการก้าวเข้าไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้อีกด้วย ซึ่งการก้าวเข้าไปสู่การเป็น AEC อย่างเต็มรูปแบบนี้จะมีการเปิดเสรีในหลายด้านรวมไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวด้วย

การเปิดเสรีดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดในภาวะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันสูงต่อไป

กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นตลาดที่กำลังได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยว องค์กรของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว นักอนุรักษ์ และบุคคลทั่วไปที่รักธรรมชาติ และต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน การมองตลาดการท่องเที่ยวจึงมีสองด้าน คือ ด้านตลาดที่ต้องการมีสิ่งดึงดูดใจใหม่ๆ ที่เป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเสนอขายกับด้านที่ให้ตลาดเป็นสื่อนำคนเข้าไปสัมผัส เรียนรู้ และร่วมรักษาทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการประสานแนวคิดทั้งสองเข้าด้วยกัน ภายใต้กรอบความต้องการโดยรวมของประเทศเป็นหลัก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นทรัพยากรที่มีความอ่อนไหว อาจได้รับผลกระทบได้ง่าย ดังนั้น กลยุทธ์ด้านการตลาดจึงเป็นกลยุทธ์ที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการจัดการและการพัฒนา ที่มีการดำเนินการแล้วอย่างมีคุณภาพ โดยต้องจัดให้เกิดความสมดุลระหว่างความสามารถในการรองรับของพื้นที่กับปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การตลาดจะต้องพิจารณาการกระจายตัวที่เหมาะสมของอุปสงค์ และสนับสนุนกลยุทธ์ด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย

การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นกระบวนการที่ต้องจัดทำขึ้น โดยมุ่งส่งเสริมให้ตลาดเป็นตลาดที่มีคุณภาพ และให้การท่องเที่ยวสอดคล้องกับความต้องการ หรือความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมการตลาดจึงไม่ใช่การพยายามเพิ่มปริมาณของนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว หากยังต้องจัดสรรให้มีการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมต่อสภาพของอุปทานที่มีอยู่ ภายใต้ขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับได้ นอกจากนี้ การตลาดจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ด้วย เช่น ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการให้การศึกษา ด้านการกระจายรายได้ เป็นต้น

กลยุทธ์ด้านการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานขงการจัดการและการพัฒนาที่มีการดำเนินการอยู่แล้วอย่างมีคุณภาพ โดยต้องจัดให้เกิดความสมดุลระหว่างความสามารถในการรองรับของพื้นที่กับปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การตลาดจะต้องพิจารณาการกระจายตัวที่เหมาะสมของอุปสงค์ และสนับสนุนกลยุทธ์ด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย

กลยุทธ์ในระยะแรก จึงควรมุ่งเน้นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีศักยภาพ และมีการจัดการรองรับการท่องเที่ยวไว้ค่อนข้างดี ก่อนที่จะส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกว้างขวางออกไป การส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มที่ต้องดำเนินการภายหลังการดำเนินการจัดการทรัพยากรที่มีศักยภาพนั้นๆ และมีการสร้างโครงข่ายการท่องเที่ยวที่เหมาะสมแล้วก่อนด้วย

ในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดการบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พบว่าเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบตลาดกับตลาดทรัพยากร หรือให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเฉพาะการกระจายข้อมูล ข้อสนเทศไปยังนักท่องเที่ยว การนำเที่ยวเป็นองค์ประกอบที่มีศักยภาพที่สุดในการควบคุมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ การให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว และการควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งเป็นส่วนที่จะส่งเสริมให้เกิดนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพิ่มมากขึ้น โดยมัคคุเทศก์คือ ผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลและรายละเอียดของทรัพยากรการท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาแก่นักท่องเที่ยว การเดินทางท่องเที่ยวแบบเอกเทศของนักท่องเที่ยวนั้น จะเกิดประโยชน์ได้น้อยในการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ ยกเว้นการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการทรัพยากรแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self-guide) ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมีปริมาณน้อย นอกจากนี้ ตัวกลางนี้ยังจะมีบทบาทที่สัญในการกำกับและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวให้อยู่ในกรอบของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งเป็นผู้ที่จะสามารถสนับสนุนกลยุทธ์การจัดการด้านอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาธุรกิจและความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

ธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ ธุรกิจบริการที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้กว่าร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการ SMEs และ MSEs รูปแบบของการประกอบธุรกิจจะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัวไม่ได้มีระบบการบริหารจัดการตามระบบทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ การดำกิจการจะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เนื่องจากจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานกันตามความสมัครใจหรือความสามารถของสมาชิกในครอบครัวกันอย่างง่ายๆหรืออาจจะเป็นการให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ โครงสร้างองค์กรหรือ Organization Chart จะมีลักษณะที่ค่อนข้างราบไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสายงานหรือสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนหรือยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หากงานในส่วนไหนยังขาดคนรับผิดชอบก็สามารถเข้าไปทำแทนกันหรือแรงงานหนึ่งคนสามารถรับผิดชอบในหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs บางรายจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมจากการใช้แรงงานในครอบครัวก็จะเป็นการจ้างงานเพียงชั่วคราวในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายการบริหารงานหรือการบริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่มีการกำหนดตำแหน่งงานหรือการปรับระดับและอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างองค์กรหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจทั่วไป รวมทั้งอาจไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างงานและให้สวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเป็นการเจรจาตกลงราคาค่าจ้างและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบกันง่าย ๆ เท่านั้น หากทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างตกลงกันได้ก็เข้ามาร่วมงานกัน ไม่ใช่เป็นการหาแรงงานมาบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างตามโครงสร้างองค์กร หากต้องการขยายงานหรือขยายการประกอบธุรกิจในส่วนไหนก็จะทำตามที่เจ้าของกิจการต้องการโดย ไม่ได้มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า

สำหรับปัญหาหลักในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการSMEในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่สำคัญน่าจะมีอยู่สองประเด็นด้วยกัน คือ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจมากนัก การขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นการขาดความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการSMEsส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานเป็นการอาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการตามหลักวิชาการหรือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ยุ่งยาก เพราะบุคลากรก็มีจำกัดและสามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆทดแทนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งในแต่ละวันก็มีการปรึกษาหารือหรือพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติงานตลอดเวลาหรือหากจะต้องมีการประสานงานก็เป็นลักษณะอาศัยความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่โดยจะเน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระหว่างเครือญาติและคนในท้องถิ่น อีกทั้งจากการที่ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลหรือสถิติสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการ SMEs จึงไม่เห็น ความสำคัญของการที่จะต้องมีการจัดทำแผนงานหรือวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการรวมทั้งการขยายกิจการในอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่เห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อาจเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ขณะที่การจะนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก จึงอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการลงทุนใน ด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศไม่น่าจะคุ้มค่าและอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการขนาดเล็ก อีกทั้งรูปแบบของการบริหารจัดการก็ไม่ได้มีความซับซ้อนจนต้องนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ แต่หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดทำระบบงานหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ราคาไม่แพงรวมทั้งมีฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวก็น่าจะช่วยลดปัญหาในด้านนี้ลงได้

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยวเพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน

ธุรกิจ Hospitality เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ทำให้การท่องเที่ยวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ทั้งเพื่อการพักผ่อน คลายเครียด เรียนรู้ และเข้าสังคม ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว หรือกลุ่มธุรกิจ Hospitality เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และมีแนวโน้มเติบโตสูงปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ต่างพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 อย่างไรก็ตาม ด้วยความโดดเด่นทางด้านความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว อัธยาศัยไมตรี ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย และอีกหลายๆปัจจัย ทำให้คาดว่าธุรกิจ Hospitality ของไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจสปา แพทย์แผนไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-เชิงนิเวศน์-เชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

ปัจจัยแวดล้อมภายนอก นโยบายที่เกี่ยวข้องและกฎระเบียบต่างๆ การเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก ข้อตกลงทางการค้าและบริการ ฯลฯปัจจัยสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค บริการขนส่ง(ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ) เทคโนโลยี ระบบการเงิน การตลาด การศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม ฯลฯธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร บริการสุขภาพ/การแพทย์ MICE ธุรกิจนำเที่ยว สปา แพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้อาเซียนรวมเป็นตลาดเดียวกันและมี ฐานการผลิตร่วมกัน โดยเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะระหว่างกัน รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ บริการสุขภาพ และท่องเที่ยว(ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจร้านอาหาร) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมดและขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยต้อง เผชิญกับภาวะการแข่งขันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป อันเนื่องมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ Hospitality กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่คาดว่าจะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น

การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

การวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการดำเนินการด้านการตลาดร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทั้งในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้แสดงถึงอัตตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ครอบคลุมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวตามความโดดเด่นของกลุ่มพื้นที่ ซึ่งจะเป็นรากฐานของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยลดความเอารัดเอาเปรียบในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมทุกฝ่าย อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เครือข่ายความร่วมมือนี้ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการสนับสนุนการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ สร้างระบบป้องกันและรองรับการเกิดวิกฤติหรือปัญหาสำหรับผู้ประกอบการในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว

ไม่ควรมุ่งหวังผลตอบแทนในรูปแบบของกำไรหรือเม็ดเงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เป้าหมายที่แท้จริงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวควรตระหนักถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เกี่ยวข้องโดยรวม ตัวชี้วัดประการหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาความสำเร็จขององค์กร ซึ่งวัดได้ด้วยดัชนีความสุขมวลรวม ทั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว อาทิ ผู้ประกอบการด้านโรงแรม ผู้ประกอบการนำเที่ยว ผู้ประกอบการให้เช่ารถยนต์ ควรเป็นผู้นำในการดำเนินงาน โดยนำเสนอว่าธุรกิจของพวกเขาจะนำสิ่งที่ดีกลับคืนมาสู่สิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างไรบ้าง

การท่องเที่ยวนั้นสามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายไปพร้อมๆกัน การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนจึงจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปทั้งการรักษาความสมบูรณ์ของสถานที่และการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพราะสิ่งนี้ก็ถือได้ว่าเป็นรากฐานของจิตวิญญาณชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งในเมืองและชนบทที่มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน พร้อมมีการดำเนินงานที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

อาเซียนจึงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพอันยิ่งใหญ่เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกและค่าบริการที่ถูกก็เพิ่มแรงดึงดูดของภูมิภาคต่อนักท่องเที่ยวในหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าวิกฤติทางการเงินโลก ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และภัยธรรมชาติได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อหลายประเทศ แต่การท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมต่อการสร้างเสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาค การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศสมาชิก การสร้างงาน การขจัดความยากจนและลดช่องว่างของการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนให้มีการเติบโตต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

travel-nakon-lanka-4-2

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยือนท้องถิ่นของตน ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ข่าวสารไร้พรมแดน การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้สนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และนำมาใช้ในการคำนวณต้นทุน-กำไรในการจัดธุรกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย

การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบท และการจ้างงานในท้องถิ่น ภาครัฐ จึงได้กำหนด ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชนโดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างเป็นอิสระโดยภาครัฐจะสนับสนุนด้านความรู้ ประสบการณ์ และงบประมาณอุดหนุนผ่านกลไกของรัฐในรูปแบบต่างๆ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ทางเลือกในการจัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนเข้ามากำหนดทิศทางของการท่องเที่ยว บนฐานคิดที่ว่า ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรและมีส่วนได้เสียจากการท่องเที่ยว โดยการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นต่าง ๆที่มีอยู่ ไม่ว่าธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต และวิถีการผลิตของชุมชนมาใช้เป็นต้นทุน หรือปัจจัยในการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้ และบทบาทที่สำคัญ ในการดำเนินงาน ตั้งแค่ การตัดสินใจ การวางแผน การดำเนินงาน การสรุปบทเรียน และมุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลาน และเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยคำนึงความสามารถในการรองรับของธรรมชาติเป็นสำคัญ

ประเภทของการจัดนำเที่ยวโดยชุมชน
1. การจัดการนำเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นการนำเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซาบซึ้งกับความงาม ความยิ่งใหญ่หรือความพิศวงของธรรมชาติ เช่น การชมนก การเดินป่า เป็นต้น
2. การนำเที่ยวเพื่อการศึกษาวัฒนธรรม( Cultural Tourism ) เป็นการนำเที่ยวที่ตอบสนองความสนใจศึกษาเรียนรู้ในเรื่องศิลป วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น ของคนพื้นเมือง หรือการเรียนศิลปะ หัตถกรรม เป็นต้น
3. การจัดนำเที่ยวเพื่อการศึกษาวิถีชีวิต ชาวเขา (Tribal lifestyle Tourism ) เป็นการนำเที่ยวที่มีจุดประสงค์ให้นักท่องเที่ยว ได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน จากการชมและสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปะ ของชาวเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่หอย่างหลากหลายในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็นต้น